วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แต่ง winXp


window xp โดยปกติ จะมี default limit bandwidth ไว้ 20%
โดยปกติแล้ว window จะ บล็อกความเร็วเน็ต ไว้ 20 เปอร์เซ็นต์ เรามีวิธีปลดบล๊อกได้ด้งนี้
ติดจรวดเล่นอินเตอร์เน็ตให้กับ Windows XP
การใช้งานอินตอร์เน็ตบางครั้งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายด้าน เราก็ พยายามหาหนทางปรับแต่งให้ถูกใจ
และถูกเงิน วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ทำให้การท่องอินตอร์เน็ตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น




1. คลิกที่ปุ่ม Start



2. เลือกที่แถบรายการ Run
3. ที่ช่อง Open พิมพ์คำว่า gpedit.msc แล้วคลิก OK
4. จะแสดงหน้าต่างของการปรับแต่ง Group Policy




5. ที่ Computer Configaration เลือกแถบ Administrative Templates



6. หัวข้อ Network เลือกที่ QoS Packet Scheduler



7. มองหน้าต่างด้านขวามือ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Limit reservable bandwidth



8. จะปรากฎกรอบหน้าต่างใหม่ Limit reservable bandwidth Properties

9. เลือกแถบ Setting คลิกที่ช่อง Enable
10. ในช่อง bandwidth limit (%) : ปรับค่าเป็น 0
11. คลิก OK เพื่อยืนยันการใช้งาน แค่นี้เองลองนำไปใช้ดูครับ




หลังจากปรับแต่งดูแล้วลองปิด Browser ทั้งหมดแล้วเปิดเรียกใหม่ ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่าแต่รู้สึกว่ามันเร็วขึ้นจริงๆด้วย แต่ไม่ถึงกับพลิกฝ่ามือ ยังไงไปลองใช้กันดูนะครับ หากปรับแต่งผิดพลาดอย่างไรก็ลอง กับไปตั้งที่ Not Configred  ระบบจะกลับไปใช้ค่าเดิมให้อัตโนมัติ


อะไรคือ Limit reservable bandwidth ???
Determines the percentage of connection bandwidth that the system can reserve. This value limits the combined bandwidth reservations of all programs running on the system.
By default, the Packet Scheduler limits the system to 20 percent of the bandwidth of a connection, but you can use this setting to override the default.
If you enable this setting, you can use the "Bandwidth limit" box to adjust the amount of bandwidth the system can reserve.
If you disable this setting or do not configure it, the system uses the default value of 20 percent of the connection.
Important: If a bandwidth limit is set for a particular network adapter in the registry, this setting is ignored when configuring that network adapter.


ข้อมูลจาก FW mail   by :Mr Lync.  

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ReadyPlanet.com ReadyPlanet Web Engine
Home สาระน่ารู้ ทัวร์ทั่วไทย เทคโนโลยี ทัวร์ทั่วโลก webboard สินค้าและบริการ ติดต่อเรา

CP Group
CP Group
CP Crop
Ikaset
Search Engine
google
sanook
yahoo
mweb
mthai
108-1009
lemononline
thaiseek
siamguru
E-Mail
yahoo
hotmail
chaiyo
mail city
thaimail
siammail
วารสารเกษตร
วารสารเคหะการเกษตร
วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
วารสารส่งเสริมการเกษตร
วารสารผลิใบ
วารสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เว็บไซด์ไม้ดอกไม้ประดับ
108 พรรณไม้ไทย
ซื้อขายพันธุ์ไม้
garden2u
ไม้ประดับดอดคอม
Flora of Thailand
orchidsiam
Fernsiam
Flowers and herbs
bloggang
เรือนกล้วยไม้
suttidaorchid
เว็บไซต์น่าสนใจ
ดิกชันนารีออนไลน์
วิชาการ.คอม
ตรวจสอบการจัดส่งพัสดุ EMS
หน่วยงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
สนง.เศรษฐกิจการเกษตร
กรมอุตุนิยมวิทยา
โครงการหลวง
คลีนิคพืช
มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หนังสือพิมพ์
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
คมชัดลึก
มติชน
แนวหน้า
สยามรัฐ
The Nation
ผู้จัดการ
ประชาชาติธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
กรุงเทพธุรกิจ
บทความน่าสนใจ
ไซเตส
กล้วยไม้ วานิลลา
ดอกไม้กินได้
เขตการค้าเสรี
การผลิตดอกปทุมมา
หงษ์เหิร ดอกไม้เข้าพรรษา
เงื่อนไขกล้วยไม้ส่งออก
บอนสี
การปลูกมะลิ
การปลูกกุหลาบตัดดอก
ซ่อนกลิ่น
โป๊ยเซียน
การป้องกันและกำจัดศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ
กล้วยไม้
เทคนิคการปลูกไม้กระถาง
แหล่งซื้อขายไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ประดับดูดสารพิษ
การขอจดทะเบียนและรับรองพันธุ์พืช
ไผ่กวนอิม
ไคโนซาน
หน้าวัว1
หน้าวัว2


CP Group



เบญจมาศ

เบญจมาศ



ชื่อสามัญ: Chrysanthemum

ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysanthemum morifolium

วงศ์: Compositae

ถิ่นกำเนิด: China , Japan

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เบญจมาศเป็นไม้ตัดดอกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก ตลอดจนเป็นไม้ดอกที่สามารถจะกำหนดเวลาบานของดอกได้อีกด้วย ในประเทศไทยขณะนี้มีการปลูกเลี้ยงเบญจมาศกันมาก โดยมีแหล่งปลูกเป็นการค้าที่สำคัญของแต่ละภาคดังนี้ ภาคกลาง-นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ-เชียงใหม่และเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น ภาคใต้-สุราษฎร์ธานี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เบญจมาศมีดอกเป็นแบบ “head”ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่า เรียกว่า ray florets ซึ่งเป็นดอกแบบ imperfect คือมีแต่เกสรตัวเมียไม่มีเกสรตัวผู้ ดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลับดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันอยู่เป็นกระจุกตรงกลางของดอก เบญจมาสเป็นไม้เนื้ออ่อน และเป็นพืชหลายฤดู แต่นิยมปลูกเป็นไม้ล้มลุก มีอายุ 90-150 วันและเป็นพืชไวต่อความยาวของวันหรือช่วงแสง

พันธุ์
เบญจมาศที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 3 ประเภท คือ
1. Exhibition Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีรูปทรงกลม ลำต้นสูงใหญ่ แต่ละต้นเลี้ยงให้มีเพียง 1 ดอก ปกติจะปลูกสำหรับการโชว์

2. Standard Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Exhibition type แต่ละต้นเลี้ยงให้มี 3-4 กิ่ง และแต่ละกิ่งให้มีเพียง 1 ดอก

3. Spray Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Standard Type แต่ละกิ่งมีหลายดอก และมี 3-4 กิ่งต่อต้น หรืออาจมีมากกว่านี้ ตัดดอกขายในลักษณะเป็นกิ่งหรือต้องขายทั้งต้น

ทั่วโลกมีพันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศส่วนใหญ่ จะเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันพันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง ในปัจจุบันมีการนำเข้าพันธุ์ใหม่ ๆ จากต่างประเทศเพื่อมาปลูกคัดเลือกพันธุ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะพันธุ์ของเบญจมาศแบบ Spray Type ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของตลาดโลกมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสนใจติดตามข่าววคราวเกี่ยวกับพันธุ์ใหม่สำหรับนำไปปลูกเลี้ยง ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์ใหม่ มักมีราคาดอกสูงกว่าพันธุ์เดิม

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์เบญจมาศ นิยมใช้กันอยู่ 2 วิธี คือ

1. การปักชำโดยใช้ส่วนยอดของกิ่ง

2. การแยกหน่อ เบญจมาศบางพันธุ์โดยเฉพาะพันธุ์สั่งมาจากญี่ปุ่น

การเตรียมดิน

ดินปลูกเบญจมาศควรมีความอุดมสมบูรณ์ โปร่งร่วนซุยระบายน้ำดี มี pH 6-7 ถ้าพื้นที่ที่ปลูกเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงลักษณะดินเป็นดินเหนียว ซึ่งมีการระบายน้ำไม่ดี ควรเตรียมดินแบบทำสวนผัก คือยกเป็นร่อง แต่ละแปลงมีขนาดความกว้าง 5 เมตร เว้นทางเดินทั้งแปลงข้างละ 50 cmร่องน้ำควรกว้าง 1 เมตร ลึก 60 cm ความยาวของแปลงเท่าไรก็ได้แล้วแต่ความสะดวก การเตรียมดินควรทำในฤดูแล้ง โดยขุดดิน พลิกดิน และตากดินไว้นาน 2 สัปดาห์ แล้วเก็บวัชพืชออกจากแปลง หลังจากนั้นทำการย่อยดิน ใส่ปุ๋ยคอกและปูนขาว แล้วจึงยกแปลง ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมดินประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าบริเวณใดน้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกเป็นร่อง

การปลูกและการดูแลรักษา

- การปลูก

ในการปลูกควรเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ปลูกลงในแปลงเดียวกัน ก่อนปลูกควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื่นเสียก่อน การปลูกในตอนเย็นดีกว่าตอนเช้า เพราะทำให้ต้นพันธุ์ไม่เฉาสามารถตั้งตัวได้เร็ว ในกรณีที่ปลูกแล้วเด็ดยอด เพื่อให้ได้ดอกมาควรใช้ระยะปลูก 15x15 cm หรือ 20x20 cm แต่ในกรณีที่ไม่เด็ดยอดควรใช้ระยะปลูก 10x10 cm ควรปลูกหมุนเวียนกับพืชอื่น ๆ เช่น พืชพวกถั่วและผักต่าง ๆ เพราะถ้าปลูกซ้ำที่เดิมบ่อย ๆ จะเป็นที่สะสมโรคแมลง และเมื่อปลูกแล้ว ควรจะคลุมด้วยฟางข้าวหรือวัสดุอื่น ๆ ฤดูปลูกที่เหมาะสมขึ้นกับชนิดพันธุ์ เช่นพันธุ์เหลืองเขี้ยว มักจะปลูกปลายฤดูหนาว เพื่อให้ดอกบานในฤดู หรือพันธุ์เหลืองตากมักปลูกต้นฤดูหนาวเพื่อให้ดอกบานในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

- การให้น้ำ

ในระยะ 7-10 วัน ภายหลังการย้ายเบญจมาศลงปลูกในแปลงแล้วควรรดน้ำเช้า-เย็น เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วให้รดน้ำวันละครั้งในตอนเช้า การให้น้ำแบบใช้แครงสาดหรือใช้ลากจูงเรือที่มีเครื่องพ่นน้ำออก 2 ข้าง จะทำให้เบญจมาศเปียกทั้งต้นและใบอาจก่อให้เกิดโรคราได้ง่ายมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรรดน้ำในตอนเช้าเพื่อให้น้ำที่เปียกได้มีโอกาสแห้งในเวลาอันสั้นในการรดน้ำควรจะรดจนโชกเพื่อให้โอกาสน้ำไหลซึมผ่านลงไปในดินให้มากพอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายอันเกิดจากการสะสมของเกลือ ซึ่งเป็นอันตรายกับต้นเบญจมาศมาก

- การใส่ปุ๋ย

เมื่อต้นตั้งตัวแล้วก็เริ่มให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ให้แก่เบญจมาศในระยะแรกควรเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงกว่าฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม คือปุ๋ยในอัตรา 3:2:1 ใส่ทุก ๆ 7 วัน เพื่อเร่งให้มีการเจริญเติบโตทางลำต้น หลัง 2 เดือนแล้วให้เปลี่ยนสูตรใหม่ โดยให้ปุ๋ยทีมีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง คือปุ๋ยอัตรา 1:2:1 เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของดอกโดยใส่ทุก ๆ 10 วันเรื่อย ๆ ไปจนกระทั่งเก็บดอก จากการสำรวจเกษตรกรในภาคกลาง พบว่านิยมใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ใส่ต้นละ 1 ช้อนชา เดือนละครั้ง

- การเด็ดยอด

ตามปกติแล้ว การปลูกเบญจมาศมักจะมีการเด็ดยอดเพื่อให้ต้นแตกกิ่งข้างมากขึ้น และจำนวนดอกเพิ่มขึ้นตามจำนวนกิ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้ดอกที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน บานพร้อม ๆ กัน การเด็ดยอดมักจะทำกันทันที เมื่อเบญจมาศตั้งตัวได้แล้ว คือหลังจากปลูกประมาณ 5-10 วัน ส่วนมากนิยมเด็ดยอดออกประมาณ 1 นิ้ว แต่การเด็ดยอดจะมีข้อเสียคือ ถึงจะได้ดอกมากก็จริง แต่ดอกมักจะเล็กขายได้ราคาต่ำ สำหรับการปลูกแบบไม่เด็ดยอดคือปลูกแบบต้นเดียวดอกเดียว (กิ่งข้างที่แตกออกมาใหม่ถูกปลิดทิ้งหมด) ดอกจะมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว แข็งแรง ประหยัดเวลาและแรงงานในการเด็ดยอด

- การปลิดดอกข้าง

ถ้าต้องการให้ดอกเบญจมาศมีขนาดใหญ่ตามความต้องการจะต้องมีการปลิดดอกที่ล้อมรอบดอกยอด และดอกที่แตกตามซอกใบให้หมด ให้แต่ละกิ่งเหลือแต่ดอกยอดเดียงดอกเดียว การปลูกเบญจมาศให้มีดอกขนาดใหญ่โดยใช้วิธีปลิดดอกข้างใช้ได้แต่เฉพาะบางพันธุ์ เช่น พันธุ์เหลืองเขี้ยว เหลืองไข่ บางพันธุ์ที่ต้องการดอกช่อ เช่น พันธุ์เหลืองทอง ก็ไม่มีการปลิดดอก

การปลิดดอกข้างจะต้องทำให้ทันเวลาไม่ช้าหรือเร็วเกินไปควรปลิดเม